จุดเด่นของพอลิเมอร์ ม.เกษตรศษสตร์ เปิดรับสมัครตั้งแต่ 4 ก.พ. – 13 มี.ค. 68

April 29, 2025
แชร์เนื้อหาหน้านี้
มาถึงแล้วจ้าาาาาา!!! สำหรับการรับสมัคร TCAS68 รอบที่ 2 (Quota) ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการและเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (นานาชาติ) ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จุดเด่นของพอลิเมอร์ ม.เกษตรศาสตร์ มีอะไรบ้าง?
ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการและเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (นานาชาติ) ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ของเรานั้นมีหลายอย่างที่โดดเด่นกว่าใครคือ… เป็นหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรีทางด้านพอลิเมอร์แห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งได้ทำ MOU ร่วมกับ The University of Akron ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกทางด้านพอลิเมอร์ โดยเลือกเรียน ม.เกษตรศาสตร์ 3 ปีแรก แล้วไปเรียนต่อที่ The University of Akron ในปีที่ 4 ก็สามารถเทียบโอนหน่วยกิตมาจบ ป.ตรี ที่ ม.เกษตรศาสตร์ หลังจากนั้น เรียนต่อที่ The University of Akron ในปีที่ 5 ก็จะสามารถจบ ป.โท จาก The University of Akron ได้ เท่ากับเรียนแค่ 5 ปี ก็จะได้ปริญญาตรีที่ ม.เกษตรศาสตร์ และได้ปริญญาโทที่ The University of Akron น่าสนใจมากเลยยยยย!!!!!
นอกจากนี้ ทางหลักสูตรฯ มีเครือข่ายที่เข้มแข็งกับภาคอุตสาหกรรมพอลิเมอร์ที่หลากหลาย ทั้งอุตสาหกรรมยาง อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมเส้นใย และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งอุตสาหกรรมที่พูดถึงนั้นเกี่ยวข้องและอยู่รอบตัวเรา และอาศัยความรู้ทางด้านวิทยาการและเทคโนโลยีพอลิเมอร์ทั้งนั้น จบแล้วมีงานรองรับอยู่มากมาย
โดยทางหลักสูตรฯ เน้นการเรียนการสอนด้านความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พอลิเมอร์อัจฉริยะและเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีโอกาสได้ใช้เครื่องทดสอบในห้องแลบทางพอลิเมอร์ที่ทันสมัย ยังมีโอกาสได้เรียนรู้ถึงมาตรฐานต่าง ๆ ในอุตสาหกรรม พอลิเมอร์ รวมถึงการนำพอลิเมอร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง มีการเชิญอาจารย์ต่างชาติที่มีชื่อเสียงมาร่วมสอนด้วย เช่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ฝรั่งเศส อังกฤษ โปแลนด์ เป็นต้น มีการสนับสนุนให้ครูฝรั่ง native English มาช่วยสอนทักษะภาษาอังกฤษเพิ่มเติมในทุกเทอมให้อีกด้วย
ดังนั้นน้อง ๆ ไม่ต้องกังวลว่าจะไม่มีงานรองรับ เพราะงานในสายพอลิเมอร์นี้มีความต้องการเป็นจำนวนมาก ทำให้รับประกันได้เลยว่าเมื่อเรียนจบไปแล้ว มีงานทำแน่นอน รวมทั้งมีรายได้ที่สูงมากอีกด้วย และไม่ได้เรียนยาก เราเน้นเรียนเชิงประยุกต์แบบเข้าใจได้ง่าย จบแล้วสามารถทำงานได้หรือจะเรียนต่อก็ได้นะ จึงควรต้องมาเรียนที่หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการและเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (นานาชาติ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พลาดแล้วจะเสียโอกาสและเสียเวลานะจ๊ะ
สำหรับ TCAS68 รอบที่ 2 (Quota) เริ่มสมัครช่วง 14 ก.พ.-13 มี.ค. 2568 สามารถสมัครได้ตามโครงการดังนี้
– โครงการนักเรียนดีเด่นจากโรงเรียนสาธิตแห่ง มก.
– โครงการลูกพระพิรุณ
– โครงการโควตาพิเศษ 30 จังหวัด
– โครงการความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายทางการศึกษา กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
– โครงการหลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรภาษาอังกฤษ (รอบ 2)
#TCAS68 รอบที่ 2 (Quota) สมัครออนไลน์ได้ที่ https://admission.ku.ac.th
ลิงก์สำหรับสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม http://m.me/polymsci.tech.ku
สามารถติดตามข่าวสารการรับสมัครได้ตามช่องทางด้านล่างนี้เลยนะคะ
polymsci.tech.ku@gmail.com

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจจะสนใจ

Hub of Talents ยางพารา วช. ประชุมสร้างเครือข่าย/พัฒนาโจทย์วิจัยภาคใต้

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา (Hub of Talents in Natural Rubber) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ ผู้บริหารจัดการศูนย์ฯ พร้อมคณะทำงานและภาคีเครือข่าย จัดประชุมสร้างเครือข่ายความร่วมมือและพัฒนาโจทย์วิจัยในอุตสาหกรรมยางทั้งระบบต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำในพื้นที่ภาคใต้ ในวันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2568 ณ โรงแรมทีอาร์ร็อคฮิลล์ จังหวัดสงขลา โดยมีผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ การยางแห่งประเทศไทยเขตภาคใต้ตอนล่าง ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี สมาคมยางพาราไทย สมาคมน้ำยางข้นไทย สมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย สมาคมผู้ผลิตถุงมือยางไทย กลุ่มเกษตรทำสวนยาง กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) และผู้ประกอบการด้านยางพารา โดยกิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักวิจัยและบุคลากรทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับยางพาราทั้งในภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคการเกษตร และภาคเอกชนในอุตสาหกรรมยางพาราทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ตลอดจนรวบรวมข้อมูลของปัญหาเพื่อนำเสนอแนวทางการแก้ไขและกำหนดเป็นโจทย์วิจัยแล้วเสนอต่อสำนักงานการวิจัยแห่งชาติต่อไป อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.matichon.co.th/publicize/news_5001542

February 5, 2025

การประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวัสดุศาสตร์ ครั้งที่ 6 (ICMARI 2024)

การประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวัสดุศาสตร์ ครั้งที่ 6 (ICMARI 2024) จัดโดยศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวัสดุยางและพอลิเมอร์เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ในวันที่ 18-19 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพฯ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดงาน และศาสตราจารย์ ดร. ดอกรัก มารอด รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและความเป็นสากล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เกียรติเป็นผู้กล่าวรายงานการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ รวมถึงได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) นางสุภาพร โชคเฉลิมวงศ์ ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 1 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ รองศาสตราจารย์ ดร.วราภา มหากาญจนกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปารเมศ กําแหงฤทธิรงค์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าร่วมพิธีเปิดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ […]

ภาพบรรยากาศการเสวนาเรื่อง “วิจัยยางพาราพัฒนาเศรษฐกิจไทย”

ผู้บริหารจัดการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ หัวหน้าศูนย์ฯ ได้กล่าวรายงานการเสวนาเรื่อง “วิจัยยางพาราพัฒนาเศรษฐกิจไทย” การเสวนาครั้งนี้จัดขึ้นโดยศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา (Hub of Talents in Natural Rubber) ซึ่งได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจาก วช. โดย นางสุภาพร โชคเฉลิมวงศ์ ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 1 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นประธานกล่าวเปิดงานการเสวนาเรื่อง “วิจัยยางพาราพัฒนาเศรษฐกิจไทย” ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expro 2024) วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม 2567 ณ ห้อง Lotus 15 ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ การจัดเสวนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองและความรู้ความเข้าใจถึงความจำเป็นในการทำการวิจัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทยในด้านอุตสาหกรรมยางพาราและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.matichon.co.th/publicize/news_4757076