กิจกรรม HUB NR

ดัน “ระยอง” 2 ล้านไร่ ต้นแบบโมเดล “เมืองยางคาร์บอนต่ำ” หนุนเศรษฐกิจ BCG

นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย แนะเกษตรกรชาวสวนยางลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต สร้างรายได้อย่างยั่งยืน ก้าวสู่การพัฒนาสวนยาง Low Carbon สร้างโมเดล “ระยอง “ 2 ล้านไร่ ต้นแบบผลักดันการยางฯในพื้นที่นำร่อง เขตภาคกลาง-ตะวันออก ดร.อุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” หลังการประชุมวันนี้ (19 ก.พ. 68) ว่าจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันมีความรุนแรงและส่งผลกระทบเป็นวงกว้างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังจะเห็นได้จากการที่ฤดูกาลต่า งๆ มีการเปลี่ยนแปลงไป จากข่าวสารที่เกิดขึ้นในทั่วโลก เช่น ภัยแล้งที่ยาวนานขึ้น การที่น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นและมหันตภัยปัญหาหมอควันและไฟป่า ฝุ่นละออง PM 2.5 รวมทั้งการเกิดโรคอุบัติใหม่ ๆ ส่งผลกระทบทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง สำหรับพื้นที่สวนยางพาราถือได้ว่าเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญมากในบรรดาพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทย โดยในช่วงที่ผ่านมามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก ทำให้มีความต้องการอาหารที่สูงขึ้น มีการบุกรุกพื้นที่ป่าใช้พื้นที่ทำการเกษตรหรือประกอบอาชีพต่าง ๆ อย่างไรขีดจำกัดมิอาจควบคุมได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญและเตรียมการในระยะยาวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งปัญหาดังกล่าวทำให้หลายประเทศทั่วโลกร่วมมือกันหาวิธีการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon neutrality 2030 ตามที่ได้ประกาศเจตนารมณ์ไว้ในเวทีการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2564 […]

April 29, 2025

จุดเด่นของพอลิเมอร์ ม.เกษตรศษสตร์ เปิดรับสมัครตั้งแต่ 4 ก.พ. – 13 มี.ค. 68

มาถึงแล้วจ้าาาาาา!!! สำหรับการรับสมัคร TCAS68 รอบที่ 2 (Quota) ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการและเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (นานาชาติ) ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุดเด่นของพอลิเมอร์ ม.เกษตรศาสตร์ มีอะไรบ้าง? ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการและเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (นานาชาติ) ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ของเรานั้นมีหลายอย่างที่โดดเด่นกว่าใครคือ… เป็นหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรีทางด้านพอลิเมอร์แห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งได้ทำ MOU ร่วมกับ The University of Akron ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกทางด้านพอลิเมอร์ โดยเลือกเรียน ม.เกษตรศาสตร์ 3 ปีแรก แล้วไปเรียนต่อที่ The University of Akron ในปีที่ 4 ก็สามารถเทียบโอนหน่วยกิตมาจบ ป.ตรี ที่ ม.เกษตรศาสตร์ หลังจากนั้น เรียนต่อที่ The University of Akron ในปีที่ 5 […]

ห้องปฏิบัติการทดสอบยางพารา RPM KU ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025

รศ.ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวัสดุยางและพอลิเมอร์เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทีมงานเข้าร่วมพิธีมอบใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 โดยได้รับเกียรติจากนายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงานและมอบใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 ในวันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ณ ห้องภูมิบดินทร์ ชั้น 6 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ซึ่งมีหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ทั้งด้านห้องปฏิบัติการทดสอบ ผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบ และผู้ผลิตวัสดุอ้างอิงเข้าร่วมแสดงความยินดีในวันนี้ ห้องปฏิบัติการทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ยาง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวัสดุยางและพอลิเมอร์เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นห้องปฏิบัติการมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ตั้งอยู่ที่ ชั้น 3​ อาคารศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ 60 พรรษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการทดสอบน้ำยางข้นธรรมชาติ (มอก.980-2552) แห่งแรกของมหาวิทยาลัยไทย และทดสอบฟองน้ำลาเท็กซ์สำหรับทำหมอน […]

อัปเดตแนวโน้มอุตสาหกรรมถุงมือยาง ปี 2567-68 ข้อมูลที่น่าสนใจจากสมาคมผู้ผลิตถุงมือยางไทย

อัปเดตแนวโน้มอุตสาหกรรมถุงมือยาง ปี 2567-68 ตลาดยังมีโอกาสเติบโต แม้ต้องเผชิญความท้าทาย! ปริมาณความต้องการใช้ถุงมือยางทั่วโลก คาดว่าจะ ขยายตัว 7.7-11.7% ต่อปี การส่งออกของไทยมีแนวโน้มขยายตัว 12.6% ในปี 2567 และ 8.0% ในปี 2568 ได้รับแรงหนุนจาก อุตสาหกรรมการแพทย์ โดยเฉพาะตลาด สหรัฐฯ ที่เพิ่มภาษีนำเข้าถุงมือยางจากจีน ทำให้ไทยมีโอกาสส่งออกเพิ่มขึ้น ตลาดยุโรปมีความท้าทายด้านกฎระเบียบ ผู้นำเข้าต้องปฏิบัติตาม EUDR (กฎหมายสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า) เพื่อคงสิทธิ์ส่งออก สมาคมฯ ขอเชิญชวนผู้ประกอบการ ติดตามแนวโน้มตลาด และเตรียมความพร้อม เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมถุงมือยางไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่: https://media.settrade.com/…/20250123-KTB-COMPASS…

Congratulations to a PhD student in Department of Materials Science KU

Congratulations to a PhD student in Department of Materials Science KU, Mr.Kwanchai Buaksuntear, he also worked at the Specialized center of rubber and polymer materials in agriculture and industry (RPM). His front cover work and manuscript have been accepted to publish by ACS Applied Polymer Materials in 2025 Volume 7 issue 6. The mussel-inspired mechanism […]

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ติดอันดับ 3 ของไทย และ 514 ของโลก ในสาขา วัสดุศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ติดอันดับ 3 ของไทย และ 514 ของโลก ในสาขา วัสดุศาสตร์ (Materials Science) จากการจัดอันดับ QS World University Rankings by Subject 2025 Kasetsart University ranks 3rd in Thailand and 514th in the world in Materials Science, according to the QS World University Rankings by Subject 2025. สำหรับหลักสูตร BSc. in Polymer Science and Technology (International Program) จะมีที่เดียวในประเทศไทย ถ้าน้อง ๆ […]

ลงพื้นที่ตรวจติดตามและขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ “สารลดกลิ่นเหม็นในยางก้อนถ้วยสำหรับอุตสาหกรรมยางแท่ง”

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. นำโดย รศ.ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ นำทีมลงพื้นที่ตรวจติดตามและขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ “สารลดกลิ่นเหม็นในยางก้อนถ้วยสำหรับอุตสาหกรรมยางแท่ง” ซึ่งได้รับทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยมี รศ.ดร.นันทิยา หาญศุภลักษณ์ นักวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (หัวหน้าโครงการ) ณ บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด มหาชน สาขาอุบลราชธานี ซึ่งในการลงพื้นที่ครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์และความร่วมมือจากบริษัท ศรีตรังฯ ที่เป็นผู้ใช้ประโยชน์ของผลงานวิจัยดังกล่าว โดยสารลดกลิ่นเหม็นในยางก้อนถ้วยนี้ถือเป็นหนึ่งในผลงานที่มีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมและมีผลตอบรับจากผู้ใช้งานเป็นอย่างดี และในอนาคตจะมีการขยายผลการใช้ประโยชน์ของงานวิจัยนี้ไปที่สาขาอื่น ๆ ต่อไป  

February 5, 2025

Hub of Talents ยางพารา วช. ประชุมสร้างเครือข่าย/พัฒนาโจทย์วิจัยภาคใต้

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา (Hub of Talents in Natural Rubber) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ ผู้บริหารจัดการศูนย์ฯ พร้อมคณะทำงานและภาคีเครือข่าย จัดประชุมสร้างเครือข่ายความร่วมมือและพัฒนาโจทย์วิจัยในอุตสาหกรรมยางทั้งระบบต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำในพื้นที่ภาคใต้ ในวันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2568 ณ โรงแรมทีอาร์ร็อคฮิลล์ จังหวัดสงขลา โดยมีผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ การยางแห่งประเทศไทยเขตภาคใต้ตอนล่าง ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี สมาคมยางพาราไทย สมาคมน้ำยางข้นไทย สมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย สมาคมผู้ผลิตถุงมือยางไทย กลุ่มเกษตรทำสวนยาง กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) และผู้ประกอบการด้านยางพารา โดยกิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักวิจัยและบุคลากรทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับยางพาราทั้งในภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคการเกษตร และภาคเอกชนในอุตสาหกรรมยางพาราทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ตลอดจนรวบรวมข้อมูลของปัญหาเพื่อนำเสนอแนวทางการแก้ไขและกำหนดเป็นโจทย์วิจัยแล้วเสนอต่อสำนักงานการวิจัยแห่งชาติต่อไป อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.matichon.co.th/publicize/news_5001542

การประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวัสดุศาสตร์ ครั้งที่ 6 (ICMARI 2024)

การประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวัสดุศาสตร์ ครั้งที่ 6 (ICMARI 2024) จัดโดยศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวัสดุยางและพอลิเมอร์เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ในวันที่ 18-19 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพฯ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดงาน และศาสตราจารย์ ดร. ดอกรัก มารอด รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและความเป็นสากล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เกียรติเป็นผู้กล่าวรายงานการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ รวมถึงได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) นางสุภาพร โชคเฉลิมวงศ์ ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 1 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ รองศาสตราจารย์ ดร.วราภา มหากาญจนกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปารเมศ กําแหงฤทธิรงค์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าร่วมพิธีเปิดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ […]

การจัดฝึกอบรมเพื่อยกระดับองค์ความรู้และทักษะของบุคลากรและสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารากลางน้ำ

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. จัดฝึกอบรมเพื่อยกระดับองค์ความรู้และทักษะ(Reskill/Upskill/Newskill) ของบุคลากรและสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารากลางน้ำ ณ การยางแห่งประเทศไทยเขตภาคใต้ตอนล่าง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 12-13 กันยายน 2567 การอบรบครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.ปรีดิ์เปรม ทัศนกุล ผู้อำนวยการศูนย์บริการทดสอบรับรองภาคใต้ การยางแห่งประเทศไทย เป็นวิทยากรให้ความรู้ในเรื่อง “การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับยางพารา ได้แก่ การผลิตน้ำยางสด ยางแผ่นรมควันเกรดพรีเมียม และการผลิตยางก้อนถ้วย” และรองศาสตราจารย์ ดร.นันทิยา หาญศุภลักษณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่อง “สารยับยั้งจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของการเกิดกลิ่นเหม็นในยางก้อยถ้วย” ซึ่งเป็นผลงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติด้วย โดยกิจกรรมในวันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับองค์ความรู้ของบุคลากรและสร้างเครือข่ายในภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่บุคลากรด้านยางพาราทุกภาคส่วน ก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ยางพารา รวมถึงมีรายได้จากการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพาราเพิ่มขึ้น ตลอดจนเป็นการผลักดันและขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ของผลงานวิจัยด้านยางพาราอย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย นอกจากนี้ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. ขอกล่าวขอบคุณ ว่าที่ ร.ต.ศุภชัย จันทร์แก้ว ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยเขตภาคใต้ตอนล่าง มา ณ โอกาสนี้ ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์สถานที่และอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมดังกล่าวจนสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพาราลงพื้นที่ตรวจติดตามและขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ “แผ่นยางปูทางผ่านเสมอระดับทางรถไฟ”

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. นำโดย รศ.ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ นำทีมลงพื้นที่ตรวจติดตามและขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ “แผ่นยางปูทางผ่านเสมอระดับทางรถไฟ” ซึ่งได้รับทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยมี รศ.ดร.อิทธิพล แจ้งชัด นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (หัวหน้าโครงการ) ร่วมกับคณะทำงานจากบริษัท เอส. เค. โพลีเมอร์ จำกัด ณ กองบำรุงทางเขตฉะเชิงเทรา การรถไฟแห่งประเทศไทย และ สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ในวันที่ 5 กันยายน 2567 ซึ่งในการลงพื้นที่ครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์และความร่วมมือจากการรถไฟแห่งประเทศไทยที่เป็นผู้ใช้ประโยชน์ของผลงานวิจัยดังกล่าว โดยแผ่นยางปูทางผ่านเสมอระดับทางรถไฟถือเป็นหนึ่งในผลงานที่มีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมและมีผลตอบรับจากผู้ใช้งานเป็นอย่างดี และปัจจุบันมีแผนในการขยายผลไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ภายใต้การดูแลของการรถไฟแห่งประเทศไทยอีกด้วย

มก. เปิดห้องปฏิบัติการทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ยาง RPM KU มาตรฐาน ISO/IEC 17025

ผู้บริหารจัดการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ หัวหน้าศูนย์ฯ ได้เปิดบริการห้องปฏิบัติการทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ยาง RPM KU อย่างเป็นทางการ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและการเรียนรู้ตลอดชีวิต รักษาการแทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประธานในพิธีเปิดห้องปฏิบัติการฯ ดังกล่าว ณ ชั้น 3 อาคารศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ 60 พรรษา คณะวิทยาศาสตร์ มก. ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการทดสอบน้ำยางข้นธรรมชาติ (มอก.980-2552) แห่งแรกของมหาวิทยาลัยไทย และทดสอบฟองน้ำลาเท็กซ์สำหรับหมอน (มอก.2471-2559) แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 จากกรมวิทยาศาสตร์บริการ อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

ภาพบรรยากาศการเสวนาเรื่อง “วิจัยยางพาราพัฒนาเศรษฐกิจไทย”

ผู้บริหารจัดการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ หัวหน้าศูนย์ฯ ได้กล่าวรายงานการเสวนาเรื่อง “วิจัยยางพาราพัฒนาเศรษฐกิจไทย” การเสวนาครั้งนี้จัดขึ้นโดยศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา (Hub of Talents in Natural Rubber) ซึ่งได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจาก วช. โดย นางสุภาพร โชคเฉลิมวงศ์ ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 1 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นประธานกล่าวเปิดงานการเสวนาเรื่อง “วิจัยยางพาราพัฒนาเศรษฐกิจไทย” ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expro 2024) วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม 2567 ณ ห้อง Lotus 15 ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ การจัดเสวนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองและความรู้ความเข้าใจถึงความจำเป็นในการทำการวิจัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทยในด้านอุตสาหกรรมยางพาราและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.matichon.co.th/publicize/news_4757076

งานประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิจัยและนวัตกรรมของวัสดุครั้งที่ 6

งานประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิจัยและนวัตกรรมของวัสดุครั้งที่ 6 (6th International Conference on Materials Research and Innovation) ระหว่าง 18-19 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์เซ็นทรัลลาดพร้าว กรุงเทพฯ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจากหลากหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร โปแลนด์ ฝรั่งเศส สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น ลาว และมาเลเซีย โดยในงานมีการประชุมแบบ Oral และ Poster presentation ใน 3 Sessions ได้แก่ Natural Rubber Science and Engineering Sustainable Polymers and Biomaterials Special Advanced Materials และมีรางวัล Best poster awards ได้แก่ Materials […]

Hub of Talents ยางพาราและนักวิจัย มก. จัดอบรมแก่เกษตรกร จ.ระยอง

ผู้บริหารจัดการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ หัวหน้าศูนย์ฯ ได้เป็นประธานกล่าวเปิดงานการฝึกอบรมเพื่อยกระดับองค์ความรู้และทักษะ (Reskill/Upskill/Newskill) ของบุคลากรและสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านยางพาราต้นน้ำ เมื่อวันที่ 19-20 สิงหาคม 2567 ณ กลุ่มเกษตรกรทำสวนยางพาราบางบุตร จังหวัดระยอง การอบรมครั้งนี้จัดขึ้นโดย ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา (Hub of talents in natural rubber) ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับบุคลากรและสร้างเครือข่ายในภาคการศึกษาและอุตสาหกรรม เกิดการขับเคลื่อนและต่อยอดงานวิจัยและนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านยางพารา และวัสดุศาสตร์ได้ การอบรมครั้งนี้ได้มีผู้สนใจเข้าร่วมการอบรมจากกลุ่มเกษตรกรทำสวนยางพาราบางบุตร สหกรณ์กองทุนสวนยางพัฒนาบ้านท่าเสาจำกัด และกลุ่มเกษตรกรตำบลชุมแสง อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง ทั้งหมด 60 คน โดยจะนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน FSC รวมถึงการรักษาสภาพน้ำยางที่ถูกต้อง และการทดสอบน้ำยางตามมาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.)ได้ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.matichon.co.th/publicize/news_4745333

ขอเรียนเชิญเข้าร่วมฟังการเสวนา”วิจัยยางพาราพัฒนาเศรษฐกิจไทย”

ขอเรียนเชิญเข้าร่วมฟังการเสวนา”วิจัยยางพาราพัฒนาเศรษฐกิจไทย” ในงาน “ มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo 2024)” วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ผู้ที่มีความสนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงาน โดยสแกนได้จาก QR code  

ภาพบรรยากาศการเสวนาเรื่อง “อุตสาหกรรมยางพาราไทยกับกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมและการกีดกันทางการค้า”

ผู้บริหารจัดการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ หัวหน้าศูนย์ฯ และคณะทำงาน ได้จัดงานการเสวนาเรื่อง “อุตสาหกรรมยางพาราไทยกับกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมและการกีดกันทางการค้า” ในงาน อว.แฟร์: SCI Power for Future Thailand วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2567 ณ ห้อง 204 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดย คุณสุภาพร โชคเฉลิมวงศ์ ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 1 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นประธานกล่าวเปิดงาน มีผู้เข้าร่วมรับฟังการเสวนาทั้งจากสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนหน่วยงานต่างๆประมาณ 60 คน โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ ได้กล่าวถึงมุมมองของนักวิชาการต่อกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบต่อการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมยางพาราและได้ให้แนวทางในการพัฒนางานวิจัยยางพาราเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.matichon.co.th/publicize/news_4702669

ขอเรียนเชิญเข้าร่วมฟังการเสวนา เรื่อง “อุตสาหกรรมยางพาราไทยกับกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมและการกีดกันทางการค้า”

ขอเรียนเชิญเข้าร่วมฟังการเสวนา เรื่อง “อุตสาหกรรมยางพาราไทยกับกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมและการกีดกันทางการค้า” ซึ่งจัดขึ้นโดย ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 เวลา 9.00-12.00 น. ณ ห้องประชุม MR 204 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ภายในงาน อว.แฟร์: SCI POWER FOR FUTURE THAILAND ผู้ที่มีความสนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงาน โดยสแกนได้จาก QR code หรือสามารถกดได้ที่ลิ้งค์ https://mhesifairconference.com

Hub of Talents ยางพารา วช. จัดอบรมทำบทความวิชาการนานาชาติ

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ หัวหน้าศูนย์ฯ และคณะทำงาน ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำบทความวิชาการและสนับสนุนการตีพิมพ์ระดับนานาชาติด้านยางพารา ในวันที่ 24-25 มิถุนายน 2567 ณ โรงแรมมารวย การ์เด้น กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับเกียรติจาก Dr. Andrew Warner (English editor) เป็นวิทยากร โดยมีผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ บริษัท บางกอกพัฒนามอเตอร์ จำกัด และ บริษัท เอส.เค. โพลีเมอร์ จำกัด อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.matichon.co.th/publicize/news_4646560

ขอเรียนเชิญเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อจัดทำบทความวิชาการและสนับสนุนการตีพิมพ์ระดับนานาชาติด้านยางพารา

ขอเรียนเชิญเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อจัดทำบทความวิชาการและสนับสนุนการตีพิมพ์ระดับนานาชาติด้านยางพารา (ต้นน้ำ กลางน้ำ หรือปลายน้ำ) ซึ่งจัดขึ้นโดย ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ในระหว่างวันที่ 24 – 25 มิถุนายน 2567 นี้ ผู้ที่มีความสนใจสามารถลงทะเบียน โดยสแกนได้จาก QR code หรือสามารถกดได้ที่ลิ้งค์ https://forms.gle/2JaLiDPYhLjYennEA ซึ่งสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 17 มิถุนายน 2567 การอบรมในครั้งนี้ฟรี (free) ไม่เสียค่าใช้จ่าย และรับจำนวนจำกัด สามารถดูรายละเอียดการอบรมได้จาก QR code หรือสามารถกดได้ที่ลิ้งค์นี้ https://drive.google.com/file/d/1KYxODZ0Q72QkvdyiOCVknaNLst1tlhaa/view?usp=sharing