งานประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิจัยและนวัตกรรมของวัสดุครั้งที่ 6

February 05, 2025
แชร์เนื้อหาหน้านี้

งานประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิจัยและนวัตกรรมของวัสดุครั้งที่ 6 (6th International Conference on Materials Research and Innovation) ระหว่าง 18-19 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์เซ็นทรัลลาดพร้าว กรุงเทพฯ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจากหลากหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร โปแลนด์ ฝรั่งเศส สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น ลาว และมาเลเซีย โดยในงานมีการประชุมแบบ Oral และ Poster presentation ใน 3 Sessions ได้แก่

  • Natural Rubber Science and Engineering
  • Sustainable Polymers and Biomaterials
  • Special Advanced Materials

และมีรางวัล Best poster awards ได้แก่

  • Materials Research
  • Materials Innovation

ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมสามารถลงทะเบียนผ่าน QR code หรือ https://icmari.sci.ku.ac.th/2024/

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจจะสนใจ

มก. เปิดห้องปฏิบัติการทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ยาง RPM KU มาตรฐาน ISO/IEC 17025

ผู้บริหารจัดการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ หัวหน้าศูนย์ฯ ได้เปิดบริการห้องปฏิบัติการทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ยาง RPM KU อย่างเป็นทางการ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและการเรียนรู้ตลอดชีวิต รักษาการแทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประธานในพิธีเปิดห้องปฏิบัติการฯ ดังกล่าว ณ ชั้น 3 อาคารศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ 60 พรรษา คณะวิทยาศาสตร์ มก. ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการทดสอบน้ำยางข้นธรรมชาติ (มอก.980-2552) แห่งแรกของมหาวิทยาลัยไทย และทดสอบฟองน้ำลาเท็กซ์สำหรับหมอน (มอก.2471-2559) แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 จากกรมวิทยาศาสตร์บริการ อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

February 5, 2025

อัปเดตแนวโน้มอุตสาหกรรมถุงมือยาง ปี 2567-68 ข้อมูลที่น่าสนใจจากสมาคมผู้ผลิตถุงมือยางไทย

อัปเดตแนวโน้มอุตสาหกรรมถุงมือยาง ปี 2567-68 ตลาดยังมีโอกาสเติบโต แม้ต้องเผชิญความท้าทาย! ปริมาณความต้องการใช้ถุงมือยางทั่วโลก คาดว่าจะ ขยายตัว 7.7-11.7% ต่อปี การส่งออกของไทยมีแนวโน้มขยายตัว 12.6% ในปี 2567 และ 8.0% ในปี 2568 ได้รับแรงหนุนจาก อุตสาหกรรมการแพทย์ โดยเฉพาะตลาด สหรัฐฯ ที่เพิ่มภาษีนำเข้าถุงมือยางจากจีน ทำให้ไทยมีโอกาสส่งออกเพิ่มขึ้น ตลาดยุโรปมีความท้าทายด้านกฎระเบียบ ผู้นำเข้าต้องปฏิบัติตาม EUDR (กฎหมายสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า) เพื่อคงสิทธิ์ส่งออก สมาคมฯ ขอเชิญชวนผู้ประกอบการ ติดตามแนวโน้มตลาด และเตรียมความพร้อม เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมถุงมือยางไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่: https://media.settrade.com/…/20250123-KTB-COMPASS…

April 29, 2025

ภาพบรรยากาศการเสวนาเรื่อง “อุตสาหกรรมยางพาราไทยกับกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมและการกีดกันทางการค้า”

ผู้บริหารจัดการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ หัวหน้าศูนย์ฯ และคณะทำงาน ได้จัดงานการเสวนาเรื่อง “อุตสาหกรรมยางพาราไทยกับกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมและการกีดกันทางการค้า” ในงาน อว.แฟร์: SCI Power for Future Thailand วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2567 ณ ห้อง 204 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดย คุณสุภาพร โชคเฉลิมวงศ์ ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 1 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นประธานกล่าวเปิดงาน มีผู้เข้าร่วมรับฟังการเสวนาทั้งจากสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนหน่วยงานต่างๆประมาณ 60 คน โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ ได้กล่าวถึงมุมมองของนักวิชาการต่อกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบต่อการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมยางพาราและได้ให้แนวทางในการพัฒนางานวิจัยยางพาราเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.matichon.co.th/publicize/news_4702669

February 5, 2025