ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพาราลงพื้นที่ตรวจติดตามและขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ “แผ่นยางปูทางผ่านเสมอระดับทางรถไฟ”

February 05, 2025
แชร์เนื้อหาหน้านี้

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. นำโดย รศ.ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ นำทีมลงพื้นที่ตรวจติดตามและขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ “แผ่นยางปูทางผ่านเสมอระดับทางรถไฟ” ซึ่งได้รับทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยมี รศ.ดร.อิทธิพล แจ้งชัด นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (หัวหน้าโครงการ) ร่วมกับคณะทำงานจากบริษัท เอส. เค. โพลีเมอร์ จำกัด ณ กองบำรุงทางเขตฉะเชิงเทรา การรถไฟแห่งประเทศไทย และ สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ในวันที่ 5 กันยายน 2567

ซึ่งในการลงพื้นที่ครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์และความร่วมมือจากการรถไฟแห่งประเทศไทยที่เป็นผู้ใช้ประโยชน์ของผลงานวิจัยดังกล่าว โดยแผ่นยางปูทางผ่านเสมอระดับทางรถไฟถือเป็นหนึ่งในผลงานที่มีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมและมีผลตอบรับจากผู้ใช้งานเป็นอย่างดี และปัจจุบันมีแผนในการขยายผลไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ภายใต้การดูแลของการรถไฟแห่งประเทศไทยอีกด้วย

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจจะสนใจ

การจัดฝึกอบรมเพื่อยกระดับองค์ความรู้และทักษะของบุคลากรและสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารากลางน้ำ

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. จัดฝึกอบรมเพื่อยกระดับองค์ความรู้และทักษะ(Reskill/Upskill/Newskill) ของบุคลากรและสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารากลางน้ำ ณ การยางแห่งประเทศไทยเขตภาคใต้ตอนล่าง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 12-13 กันยายน 2567 การอบรบครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.ปรีดิ์เปรม ทัศนกุล ผู้อำนวยการศูนย์บริการทดสอบรับรองภาคใต้ การยางแห่งประเทศไทย เป็นวิทยากรให้ความรู้ในเรื่อง “การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับยางพารา ได้แก่ การผลิตน้ำยางสด ยางแผ่นรมควันเกรดพรีเมียม และการผลิตยางก้อนถ้วย” และรองศาสตราจารย์ ดร.นันทิยา หาญศุภลักษณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่อง “สารยับยั้งจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของการเกิดกลิ่นเหม็นในยางก้อยถ้วย” ซึ่งเป็นผลงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติด้วย โดยกิจกรรมในวันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับองค์ความรู้ของบุคลากรและสร้างเครือข่ายในภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่บุคลากรด้านยางพาราทุกภาคส่วน ก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ยางพารา รวมถึงมีรายได้จากการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพาราเพิ่มขึ้น ตลอดจนเป็นการผลักดันและขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ของผลงานวิจัยด้านยางพาราอย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย นอกจากนี้ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. ขอกล่าวขอบคุณ ว่าที่ ร.ต.ศุภชัย จันทร์แก้ว ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยเขตภาคใต้ตอนล่าง มา ณ โอกาสนี้ ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์สถานที่และอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมดังกล่าวจนสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

February 5, 2025

ห้องปฏิบัติการทดสอบยางพารา RPM KU ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025

รศ.ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวัสดุยางและพอลิเมอร์เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทีมงานเข้าร่วมพิธีมอบใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 โดยได้รับเกียรติจากนายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงานและมอบใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 ในวันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ณ ห้องภูมิบดินทร์ ชั้น 6 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ซึ่งมีหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ทั้งด้านห้องปฏิบัติการทดสอบ ผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบ และผู้ผลิตวัสดุอ้างอิงเข้าร่วมแสดงความยินดีในวันนี้ ห้องปฏิบัติการทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ยาง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวัสดุยางและพอลิเมอร์เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นห้องปฏิบัติการมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ตั้งอยู่ที่ ชั้น 3​ อาคารศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ 60 พรรษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการทดสอบน้ำยางข้นธรรมชาติ (มอก.980-2552) แห่งแรกของมหาวิทยาลัยไทย และทดสอบฟองน้ำลาเท็กซ์สำหรับทำหมอน […]

April 29, 2025