
บทความอื่นๆ ที่คุณอาจจะสนใจ
ดัน “ระยอง” 2 ล้านไร่ ต้นแบบโมเดล “เมืองยางคาร์บอนต่ำ” หนุนเศรษฐกิจ BCG
นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย แนะเกษตรกรชาวสวนยางลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต สร้างรายได้อย่างยั่งยืน ก้าวสู่การพัฒนาสวนยาง Low Carbon สร้างโมเดล “ระยอง “ 2 ล้านไร่ ต้นแบบผลักดันการยางฯในพื้นที่นำร่อง เขตภาคกลาง-ตะวันออก ดร.อุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” หลังการประชุมวันนี้ (19 ก.พ. 68) ว่าจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันมีความรุนแรงและส่งผลกระทบเป็นวงกว้างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังจะเห็นได้จากการที่ฤดูกาลต่า งๆ มีการเปลี่ยนแปลงไป จากข่าวสารที่เกิดขึ้นในทั่วโลก เช่น ภัยแล้งที่ยาวนานขึ้น การที่น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นและมหันตภัยปัญหาหมอควันและไฟป่า ฝุ่นละออง PM 2.5 รวมทั้งการเกิดโรคอุบัติใหม่ ๆ ส่งผลกระทบทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง สำหรับพื้นที่สวนยางพาราถือได้ว่าเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญมากในบรรดาพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทย โดยในช่วงที่ผ่านมามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก ทำให้มีความต้องการอาหารที่สูงขึ้น มีการบุกรุกพื้นที่ป่าใช้พื้นที่ทำการเกษตรหรือประกอบอาชีพต่าง ๆ อย่างไรขีดจำกัดมิอาจควบคุมได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญและเตรียมการในระยะยาวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งปัญหาดังกล่าวทำให้หลายประเทศทั่วโลกร่วมมือกันหาวิธีการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon neutrality 2030 ตามที่ได้ประกาศเจตนารมณ์ไว้ในเวทีการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2564 […]

Hub of Talents ยางพาราและนักวิจัย มก. จัดอบรมแก่เกษตรกร จ.ระยอง
ผู้บริหารจัดการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ หัวหน้าศูนย์ฯ ได้เป็นประธานกล่าวเปิดงานการฝึกอบรมเพื่อยกระดับองค์ความรู้และทักษะ (Reskill/Upskill/Newskill) ของบุคลากรและสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านยางพาราต้นน้ำ เมื่อวันที่ 19-20 สิงหาคม 2567 ณ กลุ่มเกษตรกรทำสวนยางพาราบางบุตร จังหวัดระยอง การอบรมครั้งนี้จัดขึ้นโดย ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา (Hub of talents in natural rubber) ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับบุคลากรและสร้างเครือข่ายในภาคการศึกษาและอุตสาหกรรม เกิดการขับเคลื่อนและต่อยอดงานวิจัยและนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านยางพารา และวัสดุศาสตร์ได้ การอบรมครั้งนี้ได้มีผู้สนใจเข้าร่วมการอบรมจากกลุ่มเกษตรกรทำสวนยางพาราบางบุตร สหกรณ์กองทุนสวนยางพัฒนาบ้านท่าเสาจำกัด และกลุ่มเกษตรกรตำบลชุมแสง อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง ทั้งหมด 60 คน โดยจะนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน FSC รวมถึงการรักษาสภาพน้ำยางที่ถูกต้อง และการทดสอบน้ำยางตามมาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.)ได้ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.matichon.co.th/publicize/news_4745333

ลงพื้นที่ตรวจติดตามและขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ “สารลดกลิ่นเหม็นในยางก้อนถ้วยสำหรับอุตสาหกรรมยางแท่ง”
ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. นำโดย รศ.ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ นำทีมลงพื้นที่ตรวจติดตามและขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ “สารลดกลิ่นเหม็นในยางก้อนถ้วยสำหรับอุตสาหกรรมยางแท่ง” ซึ่งได้รับทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยมี รศ.ดร.นันทิยา หาญศุภลักษณ์ นักวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (หัวหน้าโครงการ) ณ บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด มหาชน สาขาอุบลราชธานี ซึ่งในการลงพื้นที่ครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์และความร่วมมือจากบริษัท ศรีตรังฯ ที่เป็นผู้ใช้ประโยชน์ของผลงานวิจัยดังกล่าว โดยสารลดกลิ่นเหม็นในยางก้อนถ้วยนี้ถือเป็นหนึ่งในผลงานที่มีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมและมีผลตอบรับจากผู้ใช้งานเป็นอย่างดี และในอนาคตจะมีการขยายผลการใช้ประโยชน์ของงานวิจัยนี้ไปที่สาขาอื่น ๆ ต่อไป