ห้องปฏิบัติการทดสอบยางพารา RPM KU ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025

April 29, 2025
แชร์เนื้อหาหน้านี้

รศ.ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวัสดุยางและพอลิเมอร์เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทีมงานเข้าร่วมพิธีมอบใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 โดยได้รับเกียรติจากนายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงานและมอบใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 ในวันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ณ ห้องภูมิบดินทร์ ชั้น 6 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ซึ่งมีหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ทั้งด้านห้องปฏิบัติการทดสอบ ผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบ และผู้ผลิตวัสดุอ้างอิงเข้าร่วมแสดงความยินดีในวันนี้

ห้องปฏิบัติการทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ยาง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวัสดุยางและพอลิเมอร์เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นห้องปฏิบัติการมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ตั้งอยู่ที่ ชั้น 3​ อาคารศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ 60 พรรษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการทดสอบน้ำยางข้นธรรมชาติ (มอก.980-2552) แห่งแรกของมหาวิทยาลัยไทย และทดสอบฟองน้ำลาเท็กซ์สำหรับทำหมอน (มอก.2471-2559) แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 จากสำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ (สบร.) กรมวิทยาศาสตร์บริการ ซึ่งห้องปฏิบัติการทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ยาง RPM KU จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์​การทดสอบผลิตภัณฑ์​น้ำยาง​ข้นและหมอนยางฟองน้ำตามมาตรฐาน​ ISO/IEC 17025 รวมถึงให้บริการทดสอบตัวอย่าง​และผลิตภัณฑ์​ยางพารา​หรือพอลิเมอร์​อื่น​ ๆ​ แก่หน่วยงาน​ภาคการศึกษา​ ภาคเอกชน​ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง​ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ​ทางการแข่งขันแก่ผู้ประกอบการ​ รวมถึงบริการ​ให้ความรู้​คำปรึกษา​ด้านพอลิเมอร์​แก่นิสิตนักศึกษา​และหน่วยงานที่สนใจ​ นอกจากนี้ห้องปฏิบัติการดังกล่าว มีบุคลากรที่มีความสามารถ และเครื่องมือที่มีมาตรฐานสามารถสอบเทียบ​เพื่อสอบกลับได้ถึงมาตรฐาน​การวัดระหว่าง​ประเทศ​ ทวนสอบวิธีการ​ทดสอบตามมาตรฐาน​สากล​ และควบคุม​สภาวะ​การทดสอบให้เป็น​ไปตามมาตรฐาน​จนได้รับการรับรอง​มาตรฐาน​ ISO/IEC 17025 ในด้านการทดสอบน้ำยางข้นธรรมชาติ (มอก.980-2552) เป็นแห่งแรกของมหาวิทยาลัยไทย และทดสอบฟองน้ำลาเท็กซ์สำหรับทำหมอน (มอก.2741-2559) แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นอีกด้วย

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจจะสนใจ

Hub of Talents ยางพารา วช. จัดอบรมทำบทความวิชาการนานาชาติ

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ หัวหน้าศูนย์ฯ และคณะทำงาน ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำบทความวิชาการและสนับสนุนการตีพิมพ์ระดับนานาชาติด้านยางพารา ในวันที่ 24-25 มิถุนายน 2567 ณ โรงแรมมารวย การ์เด้น กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับเกียรติจาก Dr. Andrew Warner (English editor) เป็นวิทยากร โดยมีผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ บริษัท บางกอกพัฒนามอเตอร์ จำกัด และ บริษัท เอส.เค. โพลีเมอร์ จำกัด อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.matichon.co.th/publicize/news_4646560

February 5, 2025

จุดเด่นของพอลิเมอร์ ม.เกษตรศษสตร์ เปิดรับสมัครตั้งแต่ 4 ก.พ. – 13 มี.ค. 68

มาถึงแล้วจ้าาาาาา!!! สำหรับการรับสมัคร TCAS68 รอบที่ 2 (Quota) ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการและเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (นานาชาติ) ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุดเด่นของพอลิเมอร์ ม.เกษตรศาสตร์ มีอะไรบ้าง? ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการและเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (นานาชาติ) ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ของเรานั้นมีหลายอย่างที่โดดเด่นกว่าใครคือ… เป็นหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรีทางด้านพอลิเมอร์แห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งได้ทำ MOU ร่วมกับ The University of Akron ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกทางด้านพอลิเมอร์ โดยเลือกเรียน ม.เกษตรศาสตร์ 3 ปีแรก แล้วไปเรียนต่อที่ The University of Akron ในปีที่ 4 ก็สามารถเทียบโอนหน่วยกิตมาจบ ป.ตรี ที่ ม.เกษตรศาสตร์ หลังจากนั้น เรียนต่อที่ The University of Akron ในปีที่ 5 […]

April 29, 2025

อัปเดตแนวโน้มอุตสาหกรรมถุงมือยาง ปี 2567-68 ข้อมูลที่น่าสนใจจากสมาคมผู้ผลิตถุงมือยางไทย

อัปเดตแนวโน้มอุตสาหกรรมถุงมือยาง ปี 2567-68 ตลาดยังมีโอกาสเติบโต แม้ต้องเผชิญความท้าทาย! ปริมาณความต้องการใช้ถุงมือยางทั่วโลก คาดว่าจะ ขยายตัว 7.7-11.7% ต่อปี การส่งออกของไทยมีแนวโน้มขยายตัว 12.6% ในปี 2567 และ 8.0% ในปี 2568 ได้รับแรงหนุนจาก อุตสาหกรรมการแพทย์ โดยเฉพาะตลาด สหรัฐฯ ที่เพิ่มภาษีนำเข้าถุงมือยางจากจีน ทำให้ไทยมีโอกาสส่งออกเพิ่มขึ้น ตลาดยุโรปมีความท้าทายด้านกฎระเบียบ ผู้นำเข้าต้องปฏิบัติตาม EUDR (กฎหมายสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า) เพื่อคงสิทธิ์ส่งออก สมาคมฯ ขอเชิญชวนผู้ประกอบการ ติดตามแนวโน้มตลาด และเตรียมความพร้อม เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมถุงมือยางไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่: https://media.settrade.com/…/20250123-KTB-COMPASS…