ดัน “ระยอง” 2 ล้านไร่ ต้นแบบโมเดล “เมืองยางคาร์บอนต่ำ” หนุนเศรษฐกิจ BCG

April 29, 2025
แชร์เนื้อหาหน้านี้

นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย แนะเกษตรกรชาวสวนยางลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต สร้างรายได้อย่างยั่งยืน ก้าวสู่การพัฒนาสวนยาง Low Carbon สร้างโมเดล “ระยอง “ 2 ล้านไร่ ต้นแบบผลักดันการยางฯในพื้นที่นำร่อง เขตภาคกลาง-ตะวันออก
ดร.อุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” หลังการประชุมวันนี้ (19 ก.พ. 68) ว่าจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันมีความรุนแรงและส่งผลกระทบเป็นวงกว้างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังจะเห็นได้จากการที่ฤดูกาลต่า งๆ มีการเปลี่ยนแปลงไป จากข่าวสารที่เกิดขึ้นในทั่วโลก เช่น ภัยแล้งที่ยาวนานขึ้น การที่น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นและมหันตภัยปัญหาหมอควันและไฟป่า ฝุ่นละออง PM 2.5 รวมทั้งการเกิดโรคอุบัติใหม่ ๆ ส่งผลกระทบทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง สำหรับพื้นที่สวนยางพาราถือได้ว่าเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญมากในบรรดาพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทย

ดัน \"ระยอง\" 2 ล้านไร่ ต้นแบบโมเดล \"เมืองยางคาร์บอนต่ำ\" หนุนเศรษฐกิจ BCG

โดยในช่วงที่ผ่านมามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก ทำให้มีความต้องการอาหารที่สูงขึ้น มีการบุกรุกพื้นที่ป่าใช้พื้นที่ทำการเกษตรหรือประกอบอาชีพต่าง ๆ อย่างไรขีดจำกัดมิอาจควบคุมได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญและเตรียมการในระยะยาวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งปัญหาดังกล่าวทำให้หลายประเทศทั่วโลกร่วมมือกันหาวิธีการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น

ดัน \"ระยอง\" 2 ล้านไร่ ต้นแบบโมเดล \"เมืองยางคาร์บอนต่ำ\" หนุนเศรษฐกิจ BCG

เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon neutrality 2030 ตามที่ได้ประกาศเจตนารมณ์ไว้ในเวทีการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2564 (COP26) และล่าสุดได้มีการประชุมรัฐภาคีผู้นำประเทศถึงกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29 (UNFCCC COP29 ณ กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน เมื่อวันที่ 12-13 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา)

“ยางพารา” เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทยที่มีบทบาทสำคัญในตลาดการส่งออก โดยเฉพาะในด้านการสร้างความมั่นคงในอาชีพและคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ในปี 2565 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกยางทั้งหมด 24,229,386 ไร่ และมีเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทยจำนวน 1,667,095 ราย โดยในเขตภาคกลางและภาคตะวันออก ซึ่งมีพื้นที่ปลูกยางรวม 2,421,024 ไร่ และเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน 110,483 ราย ในปี 2567 รายได้เฉลี่ยของเกษตรกรที่ปลูกยางพาราอยู่ที่ 14,703 บาท/ไร่

ขณะที่ต้นทุนการผลิตยางเฉลี่ยอยู่ที่ 13,679 บาท/ไร่ต่อปี และการผลิตยางมีผลผลิตเฉลี่ย 213 กิโลกรัม/ไร่ต่อปี จากการเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตจะพบว่า ต้นทุนผันแปร ได้แก่ วัสดุปุ๋ย วัสดุยาปราบศัตรูพืช และค่าจ้างแรงงานในการกรีดยางเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อต้นทุนรวม ดังนั้น หากต้องการลดต้นทุนการผลิตจะต้องมุ่งเน้นในการลดต้นทุนผันแปรด้านแรงงาน ปุ๋ย และยาปราบศัตรูพืช เพื่อเพิ่มส่วนต่างกำไรให้เกษตรกรมากที่สุด

ดัน \"ระยอง\" 2 ล้านไร่ ต้นแบบโมเดล \"เมืองยางคาร์บอนต่ำ\" หนุนเศรษฐกิจ BCG

ในปี 2567 คาดการณ์ว่าปริมาณการผลิตยางธรรมชาติจะลดลง เนื่องจากการระบาดของโรคใบร่วงในบางพื้นที่ ซึ่งอาจส่งผลให้ราคายางธรรมชาติเพิ่มขึ้น แต่คาดว่าจะไม่มากนัก เนื่องจากผลผลิตส่วนใหญ่ถูกส่งออกไปยังต่างประเทศในรูปแบบวัตถุดิบ นอกจากนี้ ความต้องการใช้ยางในตลาดต่างประเทศคาดว่าจะทรงตัวหรือหดตัวบางรายการ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในประเทศคู่ค้าสำคัญ หากพิจารณาสถานการณ์ราคายางพาราในปีล่าสุด ปีหลังสุดจะพบว่าภาพรวมราคายางธรรมชาติเฉลี่ยรายเดือนของไทยเดือนกรกฎาคม2567 ราคายางฯ เพิ่มขึ้นทุกรายการเมื่อเปรียบเทียบ กับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงเป็นที่มาของ “โครงการลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต สร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ก้าวสู่การพัฒนาสวนยาง Low Carbon ในพื้นที่นำร่อง : การยางพาราแห่งประเทศไทย เขตภาคกลาง-ตะวันออก” ซึ่งมุ่งเน้นในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับโครงสร้าง โดยมุ่งเน้นการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตยางให้กับเกษตรกร รวมถึงการสร้างสูตรปุ๋ยที่เหมาะสมกับสภาพดินในแต่ละพื้นที่ ผ่านการวิเคราะห์ดิน และสนับสนุนการผลิตสินค้าส่งออกยางในรูปแบบ Low carbon เพื่อร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมลดภาวะโลกร้อน อันจะเป็นการสร้าง Brand ให้กับผลิตภัณฑ์ยางพาราของไทยในการส่งออกยางเกิดความยั่งยืนในผลิตภัณฑ์ และอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศไทยไปยังต่างประเทศทั่วโลก

ดัน \"ระยอง\" 2 ล้านไร่ ต้นแบบโมเดล \"เมืองยางคาร์บอนต่ำ\" หนุนเศรษฐกิจ BCG

สอดคล้องกับนโยบายของการยางพาราแห่งประเทศไทย มีเป้าหมายในการผลักดันให้เกิดความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี 2030 และนโยบายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 โดยปี 2567 ที่ผ่านมาได้จัดทำโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจสำหรับประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction, T-VER) ในพื้นที่สวนยางของเกษตรกร ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรับผิดชอบต่อสังคมในการกักเก็บและลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อยางพาราไทยในการสร้างผลิตภัณฑ์ยาง Low Carbon ส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ในโลกช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นปัญหาระดับโลก ซึ่งมีแผนที่จะดำเนินการให้ครอบคลุมพื้นที่สวนยางของเกษตรกรไทยในอนาคตต่อไป

ดัน \"ระยอง\" 2 ล้านไร่ ต้นแบบโมเดล \"เมืองยางคาร์บอนต่ำ\" หนุนเศรษฐกิจ BCG

ทั้งนี้สมาคมสหพันธุ์ชาวสวนายางแห่งประเทศไทยจะได้ผลักดัน  โครงการดังกล่าว มุ่งเน้นนำร่องในการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมตามค่าวิเคราะห์ดินตามที่นักวิชาการแนะนำในแต่ละพื้นที่เพื่อเป็นการลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต สร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ก้าวสู่การพัฒนาสวนยาง Low Carbon  ในพื้นที่นำร่อง : โดยจะดำเนินการในพื้นที่เขตการยางพาราแห่งประเทศไทย เขตภาคกลาง-ตะวันออก” ใน 24 จังหวัด ซึ่งมีจังหวัดเป้าหมายที่มีสวนยางประกอบด้วย 6 จังหวัดการยางพาราแห่งประเทศไทย ได้แก่ จ.ระยอง, จ.จันทบุรี, จ.ตราด, จ.ฉะเชิงเทรา, จ.อุทัยธานี และจ.กาญจนบุรี  พื้นที่โดยรวมประมาณ 2 ล้านไร่ เพื่อให้เกิดต้นแบบนำร่องตามเป้าหมาย และจะได้ขยายผลไปยังพื้นที่เกษตรกรชาวสวนยางกว่า 32 ล้านไร่ ของการยางพาราแห่งประเทศไทยให้ครอบคลุมทุกเขตสร้างความยั่งยืนให้ประเทศชาติทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ  สังคม และสิ่งแวดล้อม ต่อไป

ดัน \"ระยอง\" 2 ล้านไร่ ต้นแบบโมเดล \"เมืองยางคาร์บอนต่ำ\" หนุนเศรษฐกิจ BCG

ทั้งนี้โครงการฯดังกล่าวมีวัตถุประสงค์  เพื่อช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตยางให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง และเพื่อสร้างรายได้ที่ดีเกิดความยั่งยืนให้เกษตรกรชาวสวนยาง โดยการตรวจวิเคราะห์ดิน และสร้างสูตรปุ๋ยให้เหมาะสมกับพื้นที่ ตามนโยบายการทำผลิตภัณฑ์ส่งออกยาง Low carbon  ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม  และเพื่อสร้าง Model ต้นแบบการใช้ปุ๋ยเขตการยาง ภาคกลาง – ภาคตะวันออก รวมทั้งใช้เป็นแหล่งเรียนรู้แหล่งอบรมศึกษาดูงานให้กับบุคคลกรภายในและภายนอกการยางได้ และขยายผลใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ไปยังเขตการยางพาราแห่งประเทศไทยให้ครอบคลุมทุกพื้นที่

โดยมีเป้าหมายดำเนินการนำร่องในพื้นที่  ประมาณ  2 ล้านไร่ : การยางพาราภาคกลาง-ภาคตะวันออก จ.ระยอง, จ.จันทบุรี, จ.ตราด, จ.ฉะเชิงเทรา, จ.อุทัยธานี และจ.กาญจนบุรี  โดยจะมีการดำเนินประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 : อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การวิเคราะห์ดินการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมตามนักวิชาการแนะนำแก่เจ้าหน้าที่การยางพาราแห่งประทศไทย และเกษตรกรชาวสวนยาง เป้าหมาย เขตภาคกลาง-ภาคตะวันออก  กิจกรรมที่ 2 : สำรวจดินในพื้นที่เกษตรกรชาวสวนยางเป้าหมายเพื่อนำไปวิเคราะห์ดินก่อน ต้ดสินใจสนับสนุนปัจจัยการผลิต  กิจกรรมที่ 3  : วางแผนในการบริหารจัดการปัจจัยการผลิต ปุ๋ยให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางเขต ภาคกลาง-ภาคตะวันออก  และกิจกรรมที่ 4 : สนับสนุนปัจจัยการผลิตปุ๋ย ตามค่าวิเคราะห์ดิน ตามคำแนะนำของนักวิชาการแนะนำในช่วงต้นฝนและปลายฝนปี 2568  โดยคาดว่าจะเกิดผลที่ได้รับ  สามารถลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตยางให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง  สร้างรายได้ที่ดีเกิดความยั่งยืนให้เกษตรกรชาวสวนยาง  โดยตรวจวิเคราะห์ดิน และสร้างสูตรปุ๋ยให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ และสนับสนุนนโยบายการทำผลิตภัณฑ์ส่งออกยาง Low carbon  ช่วยลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ได้ต้นแบบการใช้ปุ๋ยเขตการยาง ภาคกลาง – ภาคตะวันออก  ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้แหล่งอบรมศึกษาดูงานให้กับเขตการยางอื่น ๆ รวมทั้งผู้ซื้อยางจากต่างประเทศ  ขยายผลใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินยังเขตการยางพาราแห่งประเทศไทยให้ครอบคลุมทุกพื้นที่  และช่วยแก้ปัญหาทุจริตปุ๋ยที่เกิดขึ้นมาโดยตลอด  ดร.อุทัย   นายกสมาคมสหพันธุ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย  กล่าวทิ้งท้าย

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจจะสนใจ

การประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวัสดุศาสตร์ ครั้งที่ 6 (ICMARI 2024)

การประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวัสดุศาสตร์ ครั้งที่ 6 (ICMARI 2024) จัดโดยศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวัสดุยางและพอลิเมอร์เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ในวันที่ 18-19 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพฯ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดงาน และศาสตราจารย์ ดร. ดอกรัก มารอด รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและความเป็นสากล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เกียรติเป็นผู้กล่าวรายงานการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ รวมถึงได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) นางสุภาพร โชคเฉลิมวงศ์ ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 1 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ รองศาสตราจารย์ ดร.วราภา มหากาญจนกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปารเมศ กําแหงฤทธิรงค์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าร่วมพิธีเปิดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ […]

February 5, 2025

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ติดอันดับ 3 ของไทย และ 514 ของโลก ในสาขา วัสดุศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ติดอันดับ 3 ของไทย และ 514 ของโลก ในสาขา วัสดุศาสตร์ (Materials Science) จากการจัดอันดับ QS World University Rankings by Subject 2025 Kasetsart University ranks 3rd in Thailand and 514th in the world in Materials Science, according to the QS World University Rankings by Subject 2025. สำหรับหลักสูตร BSc. in Polymer Science and Technology (International Program) จะมีที่เดียวในประเทศไทย ถ้าน้อง ๆ […]

April 29, 2025

จุดเด่นของพอลิเมอร์ ม.เกษตรศษสตร์ เปิดรับสมัครตั้งแต่ 4 ก.พ. – 13 มี.ค. 68

มาถึงแล้วจ้าาาาาา!!! สำหรับการรับสมัคร TCAS68 รอบที่ 2 (Quota) ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการและเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (นานาชาติ) ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุดเด่นของพอลิเมอร์ ม.เกษตรศาสตร์ มีอะไรบ้าง? ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการและเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (นานาชาติ) ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ของเรานั้นมีหลายอย่างที่โดดเด่นกว่าใครคือ… เป็นหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรีทางด้านพอลิเมอร์แห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งได้ทำ MOU ร่วมกับ The University of Akron ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกทางด้านพอลิเมอร์ โดยเลือกเรียน ม.เกษตรศาสตร์ 3 ปีแรก แล้วไปเรียนต่อที่ The University of Akron ในปีที่ 4 ก็สามารถเทียบโอนหน่วยกิตมาจบ ป.ตรี ที่ ม.เกษตรศาสตร์ หลังจากนั้น เรียนต่อที่ The University of Akron ในปีที่ 5 […]