การประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวัสดุศาสตร์ ครั้งที่ 6 (ICMARI 2024)

February 05, 2025
แชร์เนื้อหาหน้านี้

การประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวัสดุศาสตร์ ครั้งที่ 6 (ICMARI 2024) จัดโดยศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวัสดุยางและพอลิเมอร์เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ในวันที่ 18-19 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพฯ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดงาน และศาสตราจารย์ ดร. ดอกรัก มารอด รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและความเป็นสากล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เกียรติเป็นผู้กล่าวรายงานการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ รวมถึงได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) นางสุภาพร โชคเฉลิมวงศ์ ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 1 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ รองศาสตราจารย์ ดร.วราภา มหากาญจนกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปารเมศ กําแหงฤทธิรงค์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าร่วมพิธีเปิดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ICMARI 2024 ด้วย

การประชุมวิชาการระดับนานาชาติในครั้งนี้ มีรองศาสตราจารย์ ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางฯ และผู้บริหารจัดการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานจัดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติฯ ร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาคมพอลิเมอร์แห่งประเทศไทย และสมาคมนักวิชาการยางและถุงมือยาง โดยมีผู้เข้าร่วมงานจากหลายภาคส่วนทั้งในและต่างประเทศ เช่น สมาคมผู้ผลิตถุงมือยางไทย การยางแห่งประเทศไทย และผู้ประกอบการในอุสาหกรรมยางและพอลิเมอร์ ตลอดจนมหาวิทยาลัยไทยและต่างประเทศกว่า 10 ประเทศ เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.matichon.co.th/publicize/news_4961820

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจจะสนใจ

Hub of Talents ยางพารา วช. ประชุมสร้างเครือข่าย/พัฒนาโจทย์วิจัยภาคใต้

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา (Hub of Talents in Natural Rubber) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ ผู้บริหารจัดการศูนย์ฯ พร้อมคณะทำงานและภาคีเครือข่าย จัดประชุมสร้างเครือข่ายความร่วมมือและพัฒนาโจทย์วิจัยในอุตสาหกรรมยางทั้งระบบต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำในพื้นที่ภาคใต้ ในวันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2568 ณ โรงแรมทีอาร์ร็อคฮิลล์ จังหวัดสงขลา โดยมีผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ การยางแห่งประเทศไทยเขตภาคใต้ตอนล่าง ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี สมาคมยางพาราไทย สมาคมน้ำยางข้นไทย สมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย สมาคมผู้ผลิตถุงมือยางไทย กลุ่มเกษตรทำสวนยาง กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) และผู้ประกอบการด้านยางพารา โดยกิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักวิจัยและบุคลากรทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับยางพาราทั้งในภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคการเกษตร และภาคเอกชนในอุตสาหกรรมยางพาราทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ตลอดจนรวบรวมข้อมูลของปัญหาเพื่อนำเสนอแนวทางการแก้ไขและกำหนดเป็นโจทย์วิจัยแล้วเสนอต่อสำนักงานการวิจัยแห่งชาติต่อไป อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.matichon.co.th/publicize/news_5001542

February 5, 2025

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพาราลงพื้นที่ตรวจติดตามและขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ “แผ่นยางปูทางผ่านเสมอระดับทางรถไฟ”

ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. นำโดย รศ.ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ นำทีมลงพื้นที่ตรวจติดตามและขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ “แผ่นยางปูทางผ่านเสมอระดับทางรถไฟ” ซึ่งได้รับทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยมี รศ.ดร.อิทธิพล แจ้งชัด นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (หัวหน้าโครงการ) ร่วมกับคณะทำงานจากบริษัท เอส. เค. โพลีเมอร์ จำกัด ณ กองบำรุงทางเขตฉะเชิงเทรา การรถไฟแห่งประเทศไทย และ สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ในวันที่ 5 กันยายน 2567 ซึ่งในการลงพื้นที่ครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์และความร่วมมือจากการรถไฟแห่งประเทศไทยที่เป็นผู้ใช้ประโยชน์ของผลงานวิจัยดังกล่าว โดยแผ่นยางปูทางผ่านเสมอระดับทางรถไฟถือเป็นหนึ่งในผลงานที่มีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมและมีผลตอบรับจากผู้ใช้งานเป็นอย่างดี และปัจจุบันมีแผนในการขยายผลไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ภายใต้การดูแลของการรถไฟแห่งประเทศไทยอีกด้วย

จุดเด่นของพอลิเมอร์ ม.เกษตรศษสตร์ เปิดรับสมัครตั้งแต่ 4 ก.พ. – 13 มี.ค. 68

มาถึงแล้วจ้าาาาาา!!! สำหรับการรับสมัคร TCAS68 รอบที่ 2 (Quota) ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการและเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (นานาชาติ) ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุดเด่นของพอลิเมอร์ ม.เกษตรศาสตร์ มีอะไรบ้าง? ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการและเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (นานาชาติ) ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ของเรานั้นมีหลายอย่างที่โดดเด่นกว่าใครคือ… เป็นหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรีทางด้านพอลิเมอร์แห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งได้ทำ MOU ร่วมกับ The University of Akron ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกทางด้านพอลิเมอร์ โดยเลือกเรียน ม.เกษตรศาสตร์ 3 ปีแรก แล้วไปเรียนต่อที่ The University of Akron ในปีที่ 4 ก็สามารถเทียบโอนหน่วยกิตมาจบ ป.ตรี ที่ ม.เกษตรศาสตร์ หลังจากนั้น เรียนต่อที่ The University of Akron ในปีที่ 5 […]

April 29, 2025