ภาพบรรยากาศการเสวนาเรื่อง “วิจัยยางพาราพัฒนาเศรษฐกิจไทย”

February 05, 2025
แชร์เนื้อหาหน้านี้

ผู้บริหารจัดการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา วช. โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ หัวหน้าศูนย์ฯ ได้กล่าวรายงานการเสวนาเรื่อง “วิจัยยางพาราพัฒนาเศรษฐกิจไทย” การเสวนาครั้งนี้จัดขึ้นโดยศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา (Hub of Talents in Natural Rubber) ซึ่งได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจาก วช. โดย นางสุภาพร โชคเฉลิมวงศ์ ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 1 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นประธานกล่าวเปิดงานการเสวนาเรื่อง “วิจัยยางพาราพัฒนาเศรษฐกิจไทย”

ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expro 2024) วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม 2567 ณ ห้อง Lotus 15 ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ การจัดเสวนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองและความรู้ความเข้าใจถึงความจำเป็นในการทำการวิจัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทยในด้านอุตสาหกรรมยางพาราและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.matichon.co.th/publicize/news_4757076

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจจะสนใจ

ดัน “ระยอง” 2 ล้านไร่ ต้นแบบโมเดล “เมืองยางคาร์บอนต่ำ” หนุนเศรษฐกิจ BCG

นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย แนะเกษตรกรชาวสวนยางลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต สร้างรายได้อย่างยั่งยืน ก้าวสู่การพัฒนาสวนยาง Low Carbon สร้างโมเดล “ระยอง “ 2 ล้านไร่ ต้นแบบผลักดันการยางฯในพื้นที่นำร่อง เขตภาคกลาง-ตะวันออก ดร.อุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” หลังการประชุมวันนี้ (19 ก.พ. 68) ว่าจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันมีความรุนแรงและส่งผลกระทบเป็นวงกว้างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังจะเห็นได้จากการที่ฤดูกาลต่า งๆ มีการเปลี่ยนแปลงไป จากข่าวสารที่เกิดขึ้นในทั่วโลก เช่น ภัยแล้งที่ยาวนานขึ้น การที่น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นและมหันตภัยปัญหาหมอควันและไฟป่า ฝุ่นละออง PM 2.5 รวมทั้งการเกิดโรคอุบัติใหม่ ๆ ส่งผลกระทบทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง สำหรับพื้นที่สวนยางพาราถือได้ว่าเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญมากในบรรดาพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทย โดยในช่วงที่ผ่านมามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก ทำให้มีความต้องการอาหารที่สูงขึ้น มีการบุกรุกพื้นที่ป่าใช้พื้นที่ทำการเกษตรหรือประกอบอาชีพต่าง ๆ อย่างไรขีดจำกัดมิอาจควบคุมได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญและเตรียมการในระยะยาวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งปัญหาดังกล่าวทำให้หลายประเทศทั่วโลกร่วมมือกันหาวิธีการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon neutrality 2030 ตามที่ได้ประกาศเจตนารมณ์ไว้ในเวทีการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2564 […]

April 29, 2025

อัปเดตแนวโน้มอุตสาหกรรมถุงมือยาง ปี 2567-68 ข้อมูลที่น่าสนใจจากสมาคมผู้ผลิตถุงมือยางไทย

อัปเดตแนวโน้มอุตสาหกรรมถุงมือยาง ปี 2567-68 ตลาดยังมีโอกาสเติบโต แม้ต้องเผชิญความท้าทาย! ปริมาณความต้องการใช้ถุงมือยางทั่วโลก คาดว่าจะ ขยายตัว 7.7-11.7% ต่อปี การส่งออกของไทยมีแนวโน้มขยายตัว 12.6% ในปี 2567 และ 8.0% ในปี 2568 ได้รับแรงหนุนจาก อุตสาหกรรมการแพทย์ โดยเฉพาะตลาด สหรัฐฯ ที่เพิ่มภาษีนำเข้าถุงมือยางจากจีน ทำให้ไทยมีโอกาสส่งออกเพิ่มขึ้น ตลาดยุโรปมีความท้าทายด้านกฎระเบียบ ผู้นำเข้าต้องปฏิบัติตาม EUDR (กฎหมายสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า) เพื่อคงสิทธิ์ส่งออก สมาคมฯ ขอเชิญชวนผู้ประกอบการ ติดตามแนวโน้มตลาด และเตรียมความพร้อม เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมถุงมือยางไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่: https://media.settrade.com/…/20250123-KTB-COMPASS…